วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไม้ดอกไม้ประดับ

ชบา

ชบา

ชื่อสามัญ                                Chinese rose
ชื่อวิทยาศาสตร์                    Hibiscus rosa sinensis.
ตระกูล                                    MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด                              จีน อินเดียและฮาวาย

ลักษณะทั่วไป

ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล
แสง                          ชอบแสงแดดมาก
น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
การขยายพันธ์              ตอน ปักชำ
โรคและแมลง               ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
การป้องกันกำจัด         ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก




ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์

ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี

บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

CR.http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html


ทานตะวัน

ทานตะวัน
ทานตะวัน มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า บัวผัด (ภาคเหนือ) เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกัน

ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล
ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย
ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก

ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด
เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง


การใช้ประโยชน์
ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร


ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์[2] และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg 
CR.http://th.wikipedia.org/wiki

ทิวลิป



ทิวลิป
ทิวลิป เป็นดอกไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของฮอลแลนด์ มีอยู่หลายสี ดอกทิวลิปจะปลูกได้ต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
ที่มาของชื่อ
แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” (จากเปอร์เชีย لاله, “lâleh”) เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้

คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulīpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tülbend” หรือ ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tülbend” ก็เป็นได้)

ทิวลิปในประเทศไทย
ในประเทศไทย สำนักงานเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ได้ปลูกดอกทิวลิป ในพื้นที่เกษตรที่สูง ดอยผาหม่น ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งปี พ.ศ. 2549 เพื่อการท่องเที่ยว 


ความหมายของดอกทิวลิป
ดอกทิวลิปสีแดง หมายถึง ความมั่นคงในความรัก ความจริงจังและจริงใจของผู้ให้ ความซื่อสัตย์และรักอย่างหมดหัวใจ
ดอกทิวลิปสีชมพู หมายถึง ความสดใส ความสุขสมหวัง ความรักที่ลึกซึ้ง และความคิดถึง
ดอกทิวลิปสีเหลือง หมายถึง เป็นสัญลักษณ์แห่งความผิดหวัง
ดอกทิวลิปสีขาว หมายถึง ฉันเสียสละทุกอย่างได้เพื่อคุณ รักที่ไม่หวังผลตอบแทน
ดอกทิวลิปสีม่วง หมายถึง ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง
ดอกทิวลิปสีส้ม หมายถึง ความรักที่ปกปิดซ่อนเร้น ความรู้สึกว้าวุ่น และอารมณ์ที่เต็มไปด้วยความอ่อนไหว

CR.http://th.wikipedia.org/wiki


มะลิ

มะลิ
มะลิ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum; อังกฤษ: Jasmine; อินโดนีเซีย: Melati) เป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง บางชนิดมีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด นอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก -แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้
พันธุ์มะลิ
มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
มะลิถอดลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany) ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
มะลิทะเล
มะลิพวง (Angelwing jasmine)
มะลิเลื้อย
มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine)
มะลิฉัตร (Arabian jasmine)
พุทธชาด (Star jasmine)

มะลิเฉลิมนรินทร์ (Jasminum bhumibolianum Chalermglin)
CR.http://th.wikipedia.org/wiki

เข็ม

เข็ม
เข็ม (อังกฤษ: Ixora) เป็นไม้พุ่มจัดอยู่ในวงศ์ Rubiaceae ลักษณะของดอกจะเกิดจากการอยู่รวมกันเป็นช่อ ๆ มีหลากหลายสี มีคุณค่าทางสมุนไพร ดอกเข็มที่ยังตูมสามารถนำมาชุบแป้งหรือไข่ทอดทานเป็นอาหารได้
เข็มเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง สามารถทนต่อความแห้งแล้ง การให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน คือ การปักชำและการตอน ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี
การเพาะปลูก
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน
ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แกลบผุ ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน
นิยมปลูกเป็นกลุ่มตกแต่งสวนบริเวณบ้านหรือปลูกเป็นแนวรั้วก็ได้ สามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงได้ตามความเหมาะสม และความต้องการของผู้ปลูก ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก
ความเชื่อ
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคมดังนั้นคนไทยโบราณจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก[2]


เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ
CR.http://th.wikipedia.org/wiki

กุหลาบ

กุหลาบ 

กุหลาบ (อังกฤษ: rose, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rosa hybrids) เป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน, ประดับตกแต่งบ้าน, ประดับสถานที่, ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น
สายพันธุ์
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้
มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถบานได้ทนถึง 16 วัน
กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง




การขยายพันธุ์กุหลาบ
กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก

พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว
Cr.http://th.wikipedia.org/wiki